โรงเรือนราคาประหยัดรีวิว งบเพียง 1,500 บาท แบบฉบับ DIY

August 7, 2021
784 views
12 mins read

โรงเรือนราคาประหยัด – ต้องขอเล่าก่อนค่ะ ว่าเจตนาของรีวิวนี้เกิดจากการอยากแชร์เผื่อสำหรับมือใหม่เหมือนเรา ที่เพิ่งมาเลี้ยงต้นไม้ ส่วนตัวคุณผึ้งชอบไม้ด่าง ความด่างทำให้ใบเขาไม่แข็งแรง แต่สวย เราเลยต้องหาที่ให้ไม้ด่างเหล่านี้อยู่แบบปลอดภัย ในราคาย่อมเยา เพราะเป็นมือใหม่ ตามคุณ ผึ้ง 6 August Journey มาจะพาไป DIY โรงเรือนกัน

[icon type=”fa-gavel” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] อุปกรณ์ ทำโรงเรือน


1.) โรงเรือนสำเร็จรูป (Shopee) ราคา 1,000 – 1,300 บาท
2.) มุ้งลวดพลาสติก (ซื้อร้านช่าง วัสดุก่อสร้าง) ราคา 200 บาท
3.) สแลนกันแดด (ซื้อร้านต้นไม้) ราคา 80 บาท
4.) เข็ม กับ ด้าย (ที่บ้านมีอยู่แล้ว)
5.) กรรไกร และ คัตเตอร์

[icon type=”fa-gavel” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] อุปกรณ์ปูพื้น (สำหรับคนที่พื้นไม่เท่ากัน)


1.) ทราย (แนะนำไปขอซื้อตามไซต์ก่อสร้าง) ราคา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
2.) หิน (เราซื้อที่ร้านต้นไม้) ราคา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้
3.) หินปูทางเดิน (เราซื้อร้านต้นไม้) ราคาก้อนละ 60 บาท

โรงเรือนต้นไม้

[icon type=”fa-leaf” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ข้อดี


  1. ราคาถูก
  2. คุณภาพของพลาสติกที่เป็น Housing หนาดี มีเชือก มีสมอบก
  3. สะดวก เพราะต่อง่าย ไม่มี Skill เรื่องก่อสร้างก็ทำได้
  4. ใช้กันแดด กันฝน ได้ครบ กันพวกแมลงได้ 90%

[icon type=”fa-leaf” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ข้อเสีย


  1. อากาศข้างในร้อน (เวลากลางวัน)
    วิธีแก้ไข คือพยายามเจาะรู และ เย็บมุ้งลวด แถวจุดใต้หลังคา เพราะความร้อนจะลอยขึ้นที่สูง และ เป่าพัดลม รวมทั้งหมอก ช่วยลดความร้อนได้เยอะ (ทดลองช่วงเวลาร้อนจัด) แต่วันไหนที่ร้อนจัดหลังคาพลาสติกจะร้อน เราก็เอาสายยางฉีดรดทั้งหลังเลย หายร้อนได้เยอะ
  2. อบ อาจทำให้ต้นไม้เฉา 
    วิธีแก้ไข คือเจาะหน้าต่างๆให้ทั้ง 3 ด้านเลยแล้วเย็บมุ้งลวดให้รอบด้าน ช่วยระบายอากาศได้ดีมากค่ะ
  3. แดดแรงไป
    วิธีแก้ไข ซื้อสแลน 60% มาคลุมโรงเรือนอีกที แล้วลองวัดแสงคือได้แสงรำไรดีมาก ต้นไม้ดูมีความสุขมากค่ะ

โดยรวม เราว่ามั้นคุ้มค่ากับราคา และ ลองใช้มา 1-2 อาทิตย์ต้นไม้ก็โตวันโตคืนค่ะ แถมเรายังสามารถต่อไฟ เข้าไปทำไฟต้นไม้ข้างในยามค่ำคืนได้ด้วย

[icon type=”fa-pagelines” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ขั้นตอนการประกอบ โรงเรือน


เมื่อของมาส่งถึงบ้าน แนะนำว่าทุกคนควรฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ แอลกฮอล์พัสดุก่อนแกะ เนื่องจากสถานการณ์โควิด หลายๆจุดขนส่ง คนติดโควิดเยอะค่ะซิส

ส่วนประกอบที่เขาให้มาจะแบ่งเป็น พลาสติกข้อต่อจุดต่างๆ (มีประมาณ 6 แบบ) และ ตัวกึ่งเหล็กกึ่งอลูมิเนียม (มีประมาณ 6 แบบ) ตะแกรงไว้วางต้นไม้ เลยแนะนำให้แบ่ง และ จัดกลุ่มชิ้นส่วน เพราะเวลาต่อจะได้หยิบจับได้ง่ายค่ะซิส

ในกล่องอุปกรณ์เขาจะมี กระดาษ 1 แผ่นที่เป็นคู่มือต่อมาให้ โดยจะเริ่มต่อจากฐานของโรงเรือน และ ค่อยๆต่อขึ้นไปชั้น 1 ชั้น 2 ยันชั้น 3 และจบด้วยโครงหลังคา เทคนิคการต่อ คือ พยายามต่อแต่ละจุดหลวมๆก่อน เมื่อต่อครบทุกชิ้นได้ทั้งหลังแล้ว ค่อยต่อแน่นๆ แต่ละข้อต่อ

จากการอ่านรีวิวมา โรงเรือนนี้เป็นพลาสติกทั้งหลัง อบ ร้อน จะทำให้ต้นไม้เฉาได้ คุณผึ้งจึงคิดไอเดีย ระบายอากาศง่ายๆ ด้วยการทำหน้าต่าง และ เย็บมุ้งลวดให้โรงเรือนทั้ง 3 ด้านเลย อีกด้านนึงเป็นประตู ก็เปิดไว้ทั้งวันช่วงกลางวัน

เมื่อทำหน้าต่างเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาที่ต้องจับ Housing ทั้งหลังนี้มาคลุม โครงโรงเรือน เวลาคลุมแอบต้องใช้บันได 2 ชั้นมาคลุม เพราะลำพังถ้ายืนคลุมข้างล่างคือเป็นไปด้วยความยากลำบากมาก

เนื่องจาก จากการลองทำหน้าต่างแค่ 2 ด้าน แล้วรู้สึกว่าอากาศยังไม่ถ่ายเทได้ตามที่หวัง เลยต้องเจาะบานสุดท้าย แล้วเย็บระหว่างที่มันขึ้นโครงแล้ว เทคนิคจุดนี้คือ ต้องใช้คน 2 คนอยู่ข้างในและข้างนอกโรงเรือน แล้วจังหวะที่เย็บก็เสียบเข็มไปที่คนอีกฝั่งสลับไปมา

[icon type=”fa-pagelines” color=”#999999″ size=”16px” style=”circle_thin” link=”” new_window=”true” ] ขั้นตอนการทำพื้น


ตรงนี้สำหรับคนที่บ้านมีพื้นไม่เท่ากัน และ สำหรับหลายคนที่อยากได้ความชื้น ได้ความสวยงามแตกต่างกันไป อย่างหลายคนชอบเลี้ยงพวกไม้ที่ชอบความชื้น เขาก็จะใช้หินภูเขาไฟ เก็บน้ำเก่งๆปูพื้น

แต่โดยรวมมักเริ้มต้นปรับระดับพื้นด้วยทราย ทำให้เรียบ แล้วจะต่างกันที่วัสดุบนทราย อย่างที่เล่าไปค่ะซิสสส อย่างเราเน้นสวย เลยใช้หินสีขาว และ ดำตัดกัน บางคนเขาเน้นความชื้นด้วย เลยใช้ถาดใส่น้ำรอง และ เอาหินภูเขาทรายเททับอีกที แล้วแต่สะดวก

สุดท้าย เราก็ได้มุมโรงเรือนในบ้านเล็กๆ ที่มีความน่ารัก เหมาะสมกับมือใหม่ ที่เพิ่งเริ่มต้นแบบเราค่ะซิสสส ครั้งหน้าจะมาแชร์ประสบการณ์เลี้ยงต้นไม้ในสวนคุณผึ้งให้อ่านกัน แต่จะเขียนในเชิงมือใหม่จริงๆค่ะซิส

โรงเรือนราคาประหยัด

Khun Peung (6 August Journey)

6 August Journey เป็นผู้หญิงสาย IT ที่ชอบท่องเที่ยว และ ชอบการ Staycation เป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งยังชอบลิ้มลอง Hotel Dining + Omakase โดยเน้นให้ข้อมูลที่ละเอียดสำหรับทุกคนไปตามรอยได้